"ชูวิทย์" เขียนข้อความถึง "ทนายสีเทา" อย่าหาประโยชน์ในคราบคนดี
"ชูวิทย์" เขียนข้อความถึง "ทนายสีเทา" อย่าหาประโยชน์ในคราบคนดี
28 มีนาคม 2566 ประเด็นร้อนแรงไม่หยุด ระหว่างจอมแฉอย่าง "ชูวิทย์" กับ "ทนายตั้ม" ษิทรา เบี้ยบังเกิด ที่เริ่มจากปมการแฉนายชูวิทย์ รับเงิน 6 ล้านบาท จากลุ่มเว็บพนัน กระทั่งมีการแถลงข่าวตอบโต้กันอย่างเผ็ดร้อน กระทั่งล่าสุด ชูวิทย์ ประกาศลั่น "กูไม่กลัวมึง" พร้อมหากพาดพิงอีก เดินหน้าฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งและอาญา ครั้งละ 100 ล้าน ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้ ล่าสุด เฟซบุ๊ก ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้โพสต์ข้อความโดยระบุว่า
. “ทนายสีเทา”
. หากคนไม่มีทุกข์ ไม่เดือดร้อน ไม่มีใครไปหาทนาย
. มันไม่ได้หมายความว่า “ผู้บริสุทธิ์” จะเป็นผู้ชนะคดีเสมอ
. ทนายเป็นตัวแปรสำคัญในการนำเสนอต่อศาล
. มีทั้งทนายถูกฝั่งตรงข้ามซื้อตัว หรือเป็นทนายเก่งวิ่งความ แต่ว่าความไม่เป็นสับปะรด
. ทนายที่ดีได้รับเงินค่าว่าจ้างในการว่าความให้ลูกความ มากน้อยแล้วแต่มาตรฐานของทนาย และลูกความ
. แต่ละคดีมีความยากง่ายต่างกัน ค่าทนายก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณธรรมของทนายเป็นสำคัญ
. ทนายบางคนไม่ได้เงิน หรือได้เงินน้อย แต่ทำเพราะอยากช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยแล้วมีคดีถูกฉ้อโกง
. อย่างนี้จึงเรียกว่า “ทนายประชาชน”
. แต่การอาศัยสถานะทนาย แล้วไปเก็บเงิน “ค่าแถลงข่าว” นี่เป็นครั้งแรกที่เจอในชีวิตผมตั้งแต่เคยขึ้นโรงขึ้นศาลมานับครั้งไม่ถ้วน
. ทนายตั้มเป็นคนแรกที่เคยพบ
. ผมเป็นคนสีเทา เรื่องที่เอามาตีแผ่มาจากแหล่งข่าวเทาๆ ของผม
. จะไปบอกใครให้รู้ก็ไม่ได้ มันผิดวิสัย “จริยเทา” ของผมเป็นอย่างมาก
. หากเป็นโจรก็มี “จิตใต้สำนึก” ได้เหมือนกัน ไม่ใช่มีเฉพาะในคนดี
. เพียงแต่จิตใต้สำนึกของโจรมันต่างกัน มันออกจะดิบกร้าน แต่ชัดเจนตรงไปตรงมาเพราะไม่ต้องอ้างเอาธรรมะมาปกป้อง
. การที่ทนายตั้มอาศัย “ลูกความ” ไปใช้ในการแถลงข่าว แทนการใช้กระบวนการยุติธรรม จึงไม่ใช่วิธีการของคนมีจรรยาบรรณวิชาชีพที่ใช้เป็นสัมมาอาชีพเลี้ยงตนเอง และครอบครัวอย่างทนายทั่วไป
. ผมรวยจากธุรกิจอาบอบนวด คราบน้ำกาม ก็ไม่ได้ปฎิเสธ รับกันตรงๆ แต่ไม่เคยไปโกงใคร บังคับให้ใครมาทำงานหรือมาเที่ยว ทุกคนล้วนเต็มใจทั้งนั้น
. แต่การใช้ “สื่อ” เป็นเครื่องมือ ให้มาฟังเรื่องราวซึ่งไม่รู้จริงหรือเท็จ เพื่ออาศัยสื่อไปเผยแพร่ในเรื่องที่ตัวเองได้ประโยชน์ส่วนตัว อย่างนี้ผิดวิสัย
. สื่อไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอาวุโส แต่ขึ้นอยู่กับสำนึกว่า สิ่งที่นำเสนอให้สังคมรับรู้มีประโยชน์ใด
. หากเป็นตลกก็สื่อความบันเทิงหัวร่องอหาย ไม่ผิด
. แต่ทนายที่ใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างแยบยล เท่ากับสื่อก็โดนหลอกใช้
. อันนี้เป็น “กรณีศึกษา” สมาคมสื่อ และสภาทนายความ ต้องปกป้องเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของอาชีพ ไม่ให้เหลือบริ้นไรมาแอบแฝงหากิน
. พอจับได้ไล่ทันว่า “ค่าแถลงข่าว” 300,000 บาท เสนอด้วยสำนักงานกฎหมายของตัวเอง
. ก็มาปัดพัลวันว่า แค่ 2-3 ครั้ง แต่ปัญหาอยู่ที่การกระทำแบบนี้ สังคม และสื่อยอมรับได้หรือไม่?
. หากมีคนขายยาเสพติดไปจ้างทนายตั้มว่าความ แล้วทนายตั้มนำคนขายยาเสพติดไปแถลงข่าวคิดเงิน ก็ย่อมทำได้
. แต่สื่อจะกลายเป็นเครื่องมือ แล้วผู้ต้องหาก็หนีไปต่างประเทศเสียด้วย เช่น กรณีดาราสาวเอมี่ ที่แถลงแล้วหนีไปต่างประเทศ
. ผมไม่โทษผู้ต้องหา คนทำผิดต้องคิดหนี แต่คนช่วยบังให้นี่สิ น่าคิดว่ายิ่งทำยิ่งรวย ไม่ได้มาจากค่าว่าความ แต่มาจากการสนับสนุนให้หนีความหรือเปล่า?
. การใช้วิชาชีพที่ผิดจากเจตนารมย์ ทั้งสื่อ ทั้งทนาย ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างอย่างคาดไม่ถึง
. สังคมลองตรองดูเอาเอง
. ทนายตั้มอย่าไปอาศัยคราบคนดีอ้างในเพจว่า เป็น “เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชน”
. ชาวบ้านมีคดีหวังหนีร้อนมาพึ่งทนายประชาชน กลับถูกเรียกเอาค่าคุยหารือระยะเวลาสั้นๆ
. พอเห็นว่าลูกความมีสะตุ้งสตางค์ ก็ชวนไปแถลงข่าว เสียเงิน 300,000 บาท
. สังคมได้สิ่งที่ไร้สาระจากสื่อ ทนายตั้มได้เงิน และผมก็ต้องทนเขียนเรื่องไร้สาระถึงคุณ
. สู้ให้ผมไปทำงานของผม ต่อต้านกัญชาของพรรคบ้ากัญชา เขากระโดง ซุกหุ้น ซุกที่ และทุจริตคอรัปชั่นอีกมากดีกว่า
. เมื่อสังคมวิปริตต้องเลือกเอาเองแล้วครับว่าจะใช้คนอย่างผมหรือไม่
. เพราะเวลาตาย ผมยอมตายเดี่ยว เมื่อมาคนเดียวก็ไปคนเดียว.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น